ารประยุกต์ใช้งานโปรแกรม สำหรับธุรกิจผลิต

วัตถุประสงค์ของการใช้งาน

·ต้องการคุม STOCK ของวัตถุดิบ , งานระหว่างทำ และ สินค้าสำเร็จรูป

·ต้องการทราบ รายรับ - รายจ่าย และ ต้นทุนของแต่ละ  JOB  งาน

 

1.   การเตรียมผังบัญชี ที่จะใช้เกี่ยวกับการผลิตโดยให้กำหนดตรงบรรทัด "แยกแผนก" เป็น Y ที่ เมนูบัญชี ข้อ 2. ผังบัญชี

1.1         แยกบัญชีสินค้าคงเหลือ

FG01

 

1.2        แยกบัญชีซื้อเป็นแต่ละประเภท  (สำหรับการบันทึกบัญชีแบบ Periodic )

FG02

 

1.3          แยกบัญชีต้นทุนผลิต

FG03

1.4.   แยกบัญชีรายได้

FG03-02

หมายเหตุ   เราสามารถสร้างงบต้นทุนการผลิตได้โดยดึงเลขที่บัญชีที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตไปแสดง      

( ดูตัวอย่างการสร้างได้จากงบต้นทุนขาย ที่มีในโปรแกรม ) ซึ่งเมื่อมีการบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับการผลิตแล้วก็จะสามารถพิมพ์งบเพื่อดูต้นทุนผลิตที่เกิดขั้นได้ทันที

2.        กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า แยกตามผังบัญชี ที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ ข้อ 3. ระบบสินค้าคงเหลือ ข้อ 2. กลุ่มบัญชีสินค้า

FG04

 

 

FG05

 

FG08

 

FG09

 

 

3        ตั้งรูปแบบรหัสสินค้าที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆข้อ 3. ระบบสินค้าคงเหลือ ข้อ1. รายละเอียดทั่วไป ข้อ 1.รูปแบบสินค้า  เช่น  !!!-!!!-!!!!-!!!!  3  ตัวแรกแยกตามประเภทของสินค้า ที่ เมนูสินค้า ข้อ 2. รายละเอียดสินค้า

เช่น 000=วัตถุดิบ และงานระหว่างทำ,F01= สินค้าสำเร็จรูป  เป็นต้น

3  ตัวถัดมาแยกตาม หมวด  หีบห่อ  เช่น BOX=กล่อง

4  ตัวถัดมา แยกตาม สี  

4  ตัว แยกตาม  SIZE

***  สินค้าแต่ละรายการที่สร้างนี้ จะต้องกำหนดในเรื่องของกลุ่มบัญชีสินค้าให้ถูกประเภทตามเลขที่บัญชีว่า

เป็นสินค้าสำเร็จรูป  หรือ วัตถุดิบ  เป็นต้น  ดังเช่นตัวอย่าง

FG10

 

FG11

 

FG13

 

4.        กำหนดรหัสค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวกับค่ารับเหมาต่าง ๆ ที่ เมนูซื้อ  ข้อ7. กำหนดรหัสค่าใช้จ่าย

FG14

 

FG15

 

5.  แยกแผนกตาม  JOB งาน ที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 7. กำหนดแผนก

FG16

 

6.        กำหนดเลขที่เอกสาร เพื่อใช้ในการปรับต้นทุนสินค้าและใช้ในการรับสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต โดยผูกบัญชีค่าใช้จ่ายตามข้อ 4. ที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 4. กำหนดเลขที่เอกสาร

FG18

 

FG19

 

FG20

 

FG20-2

 

7.        กำหนดรหัสผู้จำหน่าย เพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบที่ เมนูซื้อ ข้อ 6. รายละเอียดผู้จำหน่าย

ap

 

8.  กำหนดรหัสรายละเอียดลูกค้า เพื่อใช้ในการขายสินค้าสำเร็จรูปที่ เมนูขาย ข้อ 6. รายละเอียดลูกค้า

ar

 

ขั้นตอนในการทำงาน

1.         ตอนการบันทึกซื้อวัตถุดิบ  

การซื้อวัตถุดิบเข้าสต็อก ให้มาบันทึกที่ เมนูซื้อ ข้อ 2. ซื้อเงินสด  (HP) เวลาที่บันทึกซื้อต้องอ้างถึงรหัสสินค้าที่ได้กำหนดไว้ในรายละเอียดสินค้าผลก็คือโปรแกรมจะไปเพิ่มสต็อกตามรหัสสินค้าที่อ้างถึง

FG21

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชีที่สมุดรายวันซื้อ

สำหรับวิธี  Perpetual

gl01

สำหรับวิธี  Periodic

gl02

 

2. ต้องการจะคุมสต๊อคงานระหว่างทำ

โดยสินค้ารายการแรกให้อ้างถึงรหัสสินค้าที่เป็นวัตถุดิบก่อนแล้วป้อนยอดติดลบที่จำนวนสินค้า

เพื่อจะทำให้เราเห็นต้นทุนต่อหน่วยของวัตถุดิบที่ใช้ในการเบิก แล้วกรอกรายการสินค้า

ถัดมาที่เป็นรหัสงานระหว่างทำ  โดยป้อนเป็นยอดบวกที่ยอดจำนวนสินค้าและใส่ราคาต่อหน่วยเดียวกับ

รายการวัตถุดิบเพื่อให้จำนวนเงินเท่ากัน สังเกตจากจำนวนเงินด้านล่างจะเป็นยอด 0 บันทึกที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้าข้อ 3. ปรับปรุงยอดสินค้า / ปรับปรุงเพิ่ม/ลดสินค้า (JU)

 

FG23

โปรแกรมจะบันทึกบัญชีที่สมุดรายวันทั่วไป   Perpetual  

 

gl03

 

***Periodic        จะไม่บันทึกบัญชี ***

 

3.  ขั้นตอนการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิต

เมื่อคุณมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตประเภทอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ค่าโสหุ้ยในการผลิต  ให้คุณสามารถเลือกบันทึกค่าใช้จ่ายได้ 2 แห่ง คือ

(1.)        บันทึกใน เมนูบัญชี ข้อ 1. รายการประจำวัน / สมุดรายวันจ่าย โดยตรง หรืออาจจะสร้างสมุดรายวันการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 เล่มเพื่อใช้บันทึกรายการประเภทนี้โดยเฉพาะ

(2.)        หรือบันทึกที่ เมนูซื้อ ข้อ 5 .บันทึกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ข้อ 7. รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่นๆ (OE)

 

FG26

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี แบบ Perpetual และ Periodic เหมือนกัน

 

FG27

 

4. ขั้นตอนรับสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต

เป็นการปรับลดสต๊อคของงานระหว่างทำและเพิ่มสต๊อคของสินค้าสำเร็จรูป โดยรายการสินค้ารายการแรกให้อ้างถึงรหัสสินค้าของงานระหว่างทำก่อนโดยป้อนจำนวนติดลบ

โปรแกรมจะตัดต้นทุนให้เองตามระบบ ส่วนรายการถัดไปก็อ้างถึงรหัสสินค้าสำเร็จรูป โดยป้อนจำนวนเป็นยอดบวก ซึ่งเป็นยอดที่ผลิตได้ ส่วนมูลค่าจะใส่ยอดเดียวกับราคาของงานระหว่างทำก่อน

บันทึกที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 3 .ปรับปรุงยอดสินค้า /ปรับปรุงเพิ่ม / ลดสินค้า  (JU)

 

FG29

           

Perpetual  จะบันทึกบัญชีที่รายวันทั่วไป

gl05

 

***Periodic        จะไม่บันทึกบัญชี ***

 

5.  ขั้นตอนปรับปรุงค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต

      เป็นการปรับปรุงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากขั้นตอนการคุมสต๊อคของงานระหว่างทำ เข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต โดยทำรายการที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า  ข้อ 4. ปรับปรุงเพิ่ม/ลดต้นทุนสินค้า  (C1)

 

FG30

 

Perpetual   จะบันทึกบัญชีที่รายวันทั่วไป

gl06

***Periodic        จะไม่บันทึกบัญชี ***

ปรับปรุงเพิ่ม/ลดต้นทุนสินค้า   (C2)

FG31

Perpetual   จะบันทึกบัญชีที่รายวันทั่วไป

gl07

***Periodic        จะไม่บันทึกบัญชี ***

 

6.   ขั้นตอนการบันทึกการขาย

       เมื่อถึงเวลาที่มีการจำหน่ายสินค้า ให้คุณไปทำการบันทึกการขายเพื่อทำการตัดสต๊อกที่ เมนูขาย ข้อ 2.  ขายเงินสด  (HS) ( หรือกรณีมีการตั้งลูกหนี้ก็ให้บันทึก ที่เมนูขาย ข้อ 4.  ขายเงินเชื่อ)

 

FG32

 

Perpetual  จะบันทึกบัญชีที่รายวันทั่วไป

gl08

 

Periodic   จะบันทึกบัญชีที่รายวันทั่วไป

gl09

 

7.    ดูรายงาน        

(1.)        ดูงบค่าใช้จ่าย  ของ  JOB1จากรายงาน 812

FG33

 

(2.)        ดูงบกำไร / ขาดทุนสุทธิ  ของ JOB1

 

(3.)  ดูรายงาน STOCK รายงาน 416 แยกตามแผนก  JOB1

 FG34