ตามที่กรมสรรพากร ได้ออกคำสั่งที่ ท.ป.101/2544 สั่งให้ผู้ที่จ่ายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งในข้อที่ 12/2 จะเกี่ยวกับให้ ส่วนลดตามเป้า เงินชดเชยยอดขาย หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ 3% (ให้ศึกษารายละเอียดในคำสั่งเพิ่มเติมอีกครั้ง)
ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการประยุกต์การใช้งานในโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express
ข้อมูลที่ต้องสร้างไว้ก่อน มีดังนี้
สร้างรหัสสินค้าบริการ ‘ส่วนลดการค้า’ และ ‘ภาษีหัก ณ ที่จ่าย’ โดยกำหนดเลขที่บัญชีไว้ตามรูป
รูปที่ 1
บัญชีส่วนลดจ่าย (สำหรับทำใบ SR ลดหนี้ให้ลูกหนี้)/ บัญชีส่วนลดรับ(สำหรับทำ GR ลดหนี้เจ้าหนี้)
รูปที่ 2
บัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (รอนำส่งสิ้นเดือน) (สำหรับทำใบลดหนี้ให้ลูกหนี้ SR)
บัญชีภาษีนิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า (ถูกหัก ณ ที่จ่าย) (สำหรับทำใบ GR เพื่อลดหนี้เจ้าหนี้)
สร้างรหัส วิธีการจ่ายชำระหนี้ ‘ภาษีนิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า’ (ที่เมนู ‘เริ่มระบบ/1.5.2’) โดยกำหนดเลขที่บัญชีไว้ ตามรูป
รูปที่3
บัญชีภาษีนิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า (ถูกหัก ณ ที่จ่าย) (สำหรับทำใบ PS ในตัวอย่างสุดท้าย)
การทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. กรณีที่กิจการของคุณ เป็นผู้ให้ส่วนลดการค้าแก่ลูกค้า
ส่วนลดการค้าในที่นี้ ได้แก่ ส่วนลดที่ลูกค้าซื้อได้ตามเป้า เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงส่วนลดเงินสดที่ให้กับลูกค้า อันเนื่องมาจากลูกค้าชำระเงินเร็วกว่ากำหนด การประยุกต์การใช้งานสามารถเลือกทำได้ดังนี้คือ
1.1 กรณีที่คุณ หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เลย (ตอนที่ออกใบลดหนี้ให้กับลูกค้า)
รูปที่ 4
ให้ส่วนลด 100.- และหักภาษีไว้ 3% ดังนั้น ยอดหนี้ที่ลดจริง = 97.-
ลงบัญชี Dr. ส่วนลดจ่าย 100.-
Cr. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย 3.-
ลูกหนี้ 97.-
ข้อสังเกต: ประเภทราคาเป็น 0 และเงินหักภาษีป้อนเป็นตัวเลขติดลบและต้องบันทึกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Ctrl+F10) ที่หน้า 3 ของเอกสารนี้ และต้องเลือกประเภทของใบลดหนี้เป็น 2 เก็บไว้หักตอนรับชำระหนี้
รูปที่ 5
ขาย 1,000.-(ละ VAT ไว้ เพื่อให้ดูตัวเลขง่ายขึ้น) หักลดหนี้ 97.- ดังนั้นยอดชำระจริง = 903.-
ลงบัญชี Dr. เงินสด 903.-
Cr. ลูกหนี้ 903.-
.2กรณีเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากลูกค้า