ธุรกิจเช่าซื้อและผ่อนชำระ
การขายสินค้าโดยปกติ กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าจะเป็นของลูกค้า(ผู้ซื้อ)ทันทีที่ส่งมอบ ซึ่งการขายนี้จะมีผลทำให้ลูกค้าจะต้องนำเงินมาชำระทันที หรือชำระเงินตามระยะเวลาในการให้เครดิต เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน ลูกค้าบางรายอาจจะหาเงินมาไม่ทันเครดิตชำระหนี้ก็ได้ ผู้ขายจึงหาวิธีการที่จะผ่อนปรนการชำระหนี้ให้กับลูกค้าให้นานขึ้นและยังทำให้กิจการขายสินค้าได้มากขึ้น ปัจจุบันการขายสินค้าโดยผ่อนชำระได้ขยายตัวไปยังสินค้าประเภทต่างๆ โดยให้มีการชำระเงินได้หลายๆงวดและชำระทุกเดือนๆ ละงวด ซึ่งปกติแล้วนิยมให้ลูกค้าผ่อนชำระเงินค่างวดได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ธุรกิจในการขายสินค้าโดยผ่อนชำระ และ การขายโดยการเช่าซื้อได้เข้ามามีบทบาทต่อการขายสินค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งบางครั้งแยกไม่ออกว่าการขายสินค้านั้นเป็นการขายโดยผ่อนชำระ หรือ โดยการให้เช่าซื้อ
ข้อแตกต่างระหว่างการขายผ่อนชำระ และการให้เช่าซื้อมีดังนี้
1.กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า
-การขายผ่อนชำระ เป็นสัญญาซึ่งผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์ทันทีให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
-การเช่าซื้อ เป็นสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านึ้คราว
2.หนังสือสัญญา
ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้การขายแบบเช่าซื้อต้องทำสัญญาเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ แต่สำหรับการขายโดยผ่อนชำระกฏหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำสัญญาเป็นหนังสือซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เว้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือ
3.การยกเลิกสัญญาและการยึดสินค้า
-การขายโดยผ่อนชำระกรรมสิทธิ์ได้ตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว การฟ้องร้องจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินที่ยังขาดอยู่เท่านั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิในตัวสินค้าเลย เว้นแต่ว่าได้มีข้อตกลงทำเป็นหนังสือสัญญาเอาไว้
-การขายโดยเช่าซื้อกฎหมายกำหนดไว้ว่า ในกรณีผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี
บริษัท ผ่อนชำระ จำกัด ได้ดำเนินกิจการโดยขายเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่อนชำระ กิจการมีรายละเอียดการดำเนินงาน ปี 2550 ดังนี้
01/12/50 ซื้อ LCD TV โดยชำระเป็นเงินสดจำนวน 120,000
05/12/50 ขายสินค้าโดยผ่อนชำระ เป็นจำนวนเงิน 200,000 โดยรับชำระค่าเงินดาว์น 10% ส่วนที่เหลือให้ผ่อนชำระ
เป็นงวด 12 งวดๆ ละเดือน
31/12/50 บันทึกรับชำระเงินค่างวด งวดที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 15,000
การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น
1. กำหนดเลขที่บัญชีที่จะต้องใช้ในการทำรายการที่ เมนูบัญชี ข้อ 2. ผังบัญชี
บัญชี |
หมวด |
เลขที่บัญชี |
กำไรขั้นต้น-รอตัดบัญชี |
หนี้สิน |
2400-00 |
รายได้ที่ยังไม่ได้รับเป็นตัวเงิน |
รายได้ |
4300-00 |
2. แก้ไขโครงสร้างงบการเงินที่ เมนูบัญชี ข้อ 9. สร้างงบการเงิน
งบดุล
งบกำไรขาดทุน
3. กำหนดรหัสผู้จำหน่ายที่ เมนูซื้อ ข้อ 6. รายละเอียดผู้จำหน่าย
4. กำหนดรหัสลูกค้าที่ เมนูขาย ข้อ 6.รายละเอียดลูกค้า
5. กำหนดรหัสสินค้าที่ เมนูสินค้า ข้อ 2. รายละเอียดสินค้า
ขั้นตอนในการทำงาน
1. | บันทึกซื้อสดที่ เมนูซื้อ ข้อ 2. ซื้อเงินสด |
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Periodic
2. | บันทึกขายเงินเชื่อ พร้อมรับเงินดาวน์ 10% ที่ เมนูขาย ข้อ 4. ขายเงินเชื่อ |
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Periodic
รับเงินดาวน์ที่ เมนูการเงิน ข้อ 1. รับเงิน ข้อ 5. รับชำระหนี้
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และแบบ Periodic เหมือนกัน
3. | รับชำระเงินค่างวด (งวดที่ 1) เมนูการเงิน ข้อ 1. รับเงิน ข้อ 5. รับชำระหนี้ |
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และแบบ Periodic เหมือนกัน
4. | ณ.สิ้นงวดบัญชี ที่ เมนูบัญชี ข้อ 1. ลงประจำวัน /สมุดรายวันทั่วไป |
·บันทึกบัญชีต้นทุนในสมุดรายวัน สำหรับการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Periodic (สำหรับการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Perpetual ไม่ต้องบันทึกบัญชี เพราะถูกบันทึกในขั้นตอนออกอินวอยส์เรียบร้อยแล้ว)
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Periodic
·บันทึกกำไรขั้นต้นรอตัดบัญชี (ทั้ง Perpetual และ Periodic บันทึบัญชีเหมือนกัน)
บันทึกรายได้ที่เป็นตัวเงินของปี 2550
คำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้น |
คำนวณหารายได้ที่ได้รับเป็นตัวเงิน |
กำไรขั้นต้น x 100 = อัตรากำไรขั้นต้น ยอดขาย |
จำนวนเงินที่ได้รับ x อัตรากำไรขั้นต้น |
80,000 x 100% = 40% 200,000 |
20,000+15,000 x 40% = 14,000 |
สามารถตรวจสอบยอดบัญชีรายได้จากการขายและต้นทุนขายได้จากรายงาน งบทดลอง ณ.สิ้นงวดบัญชี
ต้นทุนขายสำหรับการบันทึกบันชีสินค้าแบบ Periodic สามารถตรวจสอบได้ที่ เมนูรายงานบัญชี ข้อ 9.งบการเงิน / ต้นทุนขาย หรือ รายงาน 7. วิเคราะห์การขาย 7. สรุปยอดขายตามงวด 1. แยกตามหมวด
1. ยอดขาย |
200,000 |
2. ต้นทุน |
120,000 |
3. กำไรขั้นต้น |
80,000 |
ตัวอย่างงบการเงิน
งบดุล
งบกำไรขาดทุน