ฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้า ซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าทำการจำหน่ายสินค้านั้นให้ ซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย (Consignee) และผู้รับฝากขายจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า ซึ่งจะคำนวณเป็นอัตราร้อยละจากยอดขาย

 

การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

 

วิธีการบัญชีทางด้านผู้ฝากขาย        

ขั้นตอนที่ 1  ขั้นตอนการกำหนดเลขที่บัญชี  ให้กำหนดเลขที่บัญชีที่เกี่ยวข้องกับการฝากขายไว้ในผังบัญชี

   

บัญชี

หมวด

เลขที่บัญชี

ลูกหนี้ผู้รับฝากขาย

สินทรัพย์

1130-01

รายได้ฝากขาย

รายได้

4100-01

ค่านายหน้า

ค่าใช้จ่าย

5200-01

ค่าขนส่ง

ค่าใช้จ่าย

5200-05

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

ค่าใช้จ่าย

5370-06

 

cons01

 

ขั้นตอนที่ 2   ตั้งรหัสคลังสินค้า ที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 2. กำหนดตารางข้อมูล / ข้อ 21 คลังสินค้า โดยแยกตามผู้รับฝากขาย เช่น ห้างโรบินสัน เป็น คลัง RBBP

 

cons02

 

ขั้นตอนที่ 3  เพิ่มวิธีการรับชำระหนี้ เช่น เงินทดลองจ่าย  ค่าขนส่ง  และค่านายหน้า เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับหักค่านายหน้า  และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ที่ทางห้างได้หักกับทางเราที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ ข้อ 4. ระบบขายและลูกหนี้ ข้อ 2.วิธีรับชำระหนี้

 

cons03

 

ขั้นตอนที่ 4  ตั้งกลุ่มบัญชีสินค้า ที่เมนูเริ่มระบบ ข้อ 1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ  ข้อ 3. ระบบสินค้า  ข้อ 2. กลุ่มบัญชีสินค้า โดยกำหนด บัญชีขายสินค้า เป็น บัญชีเงินสด '1111-00' เพื่อใช้ในการเปิดบิลขายสด จะได้ไม่มีการบันทึกบัญชี

 

        cons04

 

ขั้นตอนที่ 5   ตั้งรหัสลูกค้าที่ เมนูขาย ข้อ 6. รายละเอียดลูกค้า โดยตั้งตามลูกค้าที่รับฝากขาย เช่น ห้างโรบินสัน

 

cons05

 

 

ขั้นตอนที่ 6  กำหนดรหัสสินค้าที่ เมนูสินค้า ข้อ 2. รายละเอียดสินค้า

 

sel04

 

ขั้นตอนที่ 7 กำหนดรหัสรายได้ ที่เมนูสินค้า ข้อ 4. รายละเอียดสินค้าบริการ  โดยรหัสรายได้จะไม่สามารถสร้างซ้ำ กับรหัสสินค้าชื่อสินค้าตั้งให้เหมือนกันได้ และเลขที่บัญชีรายได้ ก็เป็นบัญชีเดียวกับรายได้ฝากขายที่ต้องการบันทึก

 

cons07

 

ขั้นตอนที่ 8 กำหนดรหัสค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการฝากขาย เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกัน ฯลฯ เมนูซื้อ ข้อ 7. รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

 

sel04-2

 

ขั้นตอนในการทำงาน

1.  การโอนสินค้า ให้ทำการโอนย้ายระหว่างคลังเพื่อเป็นการย้ายสินค้าจากคลังหลัก ไปยังคลังรับฝากขายที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 2. โอนย้ายระหว่างคลัง เพื่อทำการโอนย้ายสินค้าไปยังคลังปลายทาง หรือ คลังของผู้รับฝากขายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

 

cons08

 

 โปรแกรมไม่มีการบันทึกบัญชี

 

2. ทำรายการฝากขาย ให้เปิดบิลขายเพื่อเป็นการส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขายที่ เมนูขาย ข้อ 4. ขายเงินเชื่อ โดยใช้ รหัสสินค้าเป็นรหัสรายได้ฝากขายที่กำหนดไว้แล้วใน เมนูรายละเอียดสินค้าบริการข้อ4. และให้ระบุคลังในใบกำกับเป็น คลังรับฝากขาย RBBP และเกณฑ์ภาษีจะเลือกเป็นเกณฑ์สิทธิ

 

cons09

 

 โปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และแบบ Periodic เหมือนกัน

cgl01

หมายเหตุ การลงบัญชีทั้ง 2  แบบเหมือนกัน เพราะรหัสสินค้าที่ใช้เป็นสินค้าบริการ จึงไม่มีการบันทึกบัญชีต้นทุนให้

 

3.  กรณีมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝากขายเกิดขึ้น ซึ่งได้ตกลงให้ผู้ฝากขายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกัน ฯลฯ ให้ไปบันทึกที่ เมนูซื้อ ข้อ 5. บันทึกค่าใช้จ่าย ตามรหัสที่ตั้งไว้ในรายละเอียดค่าใช้จ่าย โปรแกรมจะบันทึกบัญชีโดย

 

  cons10

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และ Periodic เหมือนกัน

cgl02

 

4. มีการเช็คสินค้าที่ห้าง ในหนึ่งอาทิตย์ถัดมา ถ้าไม่มีของก็ถือว่าสินค้าที่ฝาก ได้ขายไป ก็จะทำการเปิดบิลขาย เพื่อให้โปรแกรมตัดสต๊อคสินค้าตามยอดที่ขายจริงที่ เมนูขาย ข้อ 2.  ขายเงินสด  และระบุคลัง RBBP โดยขั้นตอนนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีรายได้ฝากขายแล้ว เพราะรายได้ได้เกิดตอนเปิดบิลขายเชื่อแล้ว

 

cons11

 

 โปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual          

 

cgl03

         

กรณีบันทึกบัญชีแบบ Periodic        

*** ไม่มีการบันทึกบัญชี ***        

 

5. เมื่อทางผู้ฝากขายได้รับรายงานการฝากขาย เกี่ยวกับการขายสินค้าที่ขายว่ามีจำนวนเท่าใด และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ผู้ฝากขายออกแทน คิดค่านายหน้าเท่าใด และเหลือเงินที่ได้รับ ทางด้านผู้ฝากขายต้องทำการบันทึกการรับชำระหนี้จากผู้รับฝากขายตามบิลที่ได้เปิดไว้ที่ เมนูการเงิน ข้อ 1. รับเงิน / ข้อ 5. รับชำระหนี้ เพื่อทำการตัดยอดลูกหนี้ ซึ่งยอดที่รับชำระหนี้จะเป็นยอดเดียวกับการเปิดบิลขายสด + ภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บิลขาย ยอด 3,500 ยอดภาษี คือ[ 3,500 *.07 =245] ยอดรับชำระหนี้ คือ[ 3,500+245 = 3,745.-] หักค่าขนส่ง และค่านายหน้า [3,745 - 700 - 600 = 2,445.-]

 

cons12

 

 โปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และ แบบ Periodic เหมือนกัน

cgl04          

 

6. กรณีสินค้าที่ฝากขาย ชำรุดเสียหาย และทางผู้รับฝากขายได้ส่งกลับคืนมา ให้ทำเอกสารการรับคืนสินค้าที่ เมนูการเงิน ข้อ 1. รับเงิน / ข้อ 4. ใบลดหนี้/รับคืนสินค้า และระบุคลังที่รับคืนสินค้าเป็น คลัง RBBP โดยอ้างเอกสารบิลขายเชื่อที่ทำก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการลดยอดลูกหนี้

 

cons13

 

 โปรแกรมจะบันทึกบัญชีแบบ Perpetual และ แบบ Periodic เหมือนกัน

cgl05

 

และการทำในขั้นตอนนี้จะใช้เป็นสินค้าบริการจึงไม่มีผลกับสต๊อค จึงต้องทำเอกสารปรับปรุงสินค้าที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า ข้อ 3. ปรับปรุงยอดสินค้า   เพื่อเป็นการลดยอดสินค้าใน คลังของผู้รับฝากขาย และปรับเพิ่มสินค้า หรือ รับสินค้ากลับเข้ามาใน คลัง 01 หรือ คลังของผู้ฝากขาย

 

cons14

 

 โปรแกรมไม่มีการบันทึกบัญชี

 

7. การดูรายงาน

 สามารถที่จะดูการเคลื่อนไหวสินค้าในคลังของผู้ฝากขาย และ คลังของผู้รับฝากขายจากรายงาน 416

 คลังของผู้ฝากขาย

cons15-1

 

 คลังของผู้รับฝากขาย (ห้าง)

cons15

 

 สามารถดูรายงานวิเคราะห์การขายของสินค้า ที่มีการขายจากคลังห้าง จากรายงาน 712

cons16

 

 ดูสต๊อกการ์ดของสินค้าในแต่ละคลัง427

cons17